-2-

๒๑. การปิดโปรแกรมเมื่อคอมฯแฮ๊งค์

เมื่อเกิดคอมฯแฮ๊งค์ขึ้นมา คือเม้าส์ไม่วิ่ง หรือสั่งงานก็ไม่ตอบสนอง แสดงว่าโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่นั้นแฮ๊งค์(ค้าง) เราจะต้องเรียกโปรแกรมสำหรับใช้”ปิดโปรแกรม”ขึ้นมา โดยกดแป้นที่คีย์บอด ๓ ตัวพร้อมกันคือ Ctrl + Alt + Del เมื่อหน้าต่าง”ปิดโปรแกรม”เปิดขึ้นมาก็ให้เลือกโปรแกรมที่จะปิดหรือที่มันแฮ๊งค์(หรือดูจากคำว่าไม่มีการตอบสนอง No Reposding ที่อยู่ท้ายโปรแกรม) แล้วคลิกที่ End Track และจะมีหน้าต่างขึ้นมาก็ให้เลือก ถ้าต้องการปิดแค่โปรแกรมที่ค้างก็ให้คลิกที่ End Track แต่ถ้าจะปิดเครื่องก็เลือกที่ Shut Down แต่ในกรณีที่ไม่สามารถเปิดโปรแกรมนี้ได้ก็ให้กดปุ่ม Restart ที่เคสแทน แต่ถ้าไม่จำเป็นอย่าใช้ปุ่มนี้

๒๒. การสร้างแผ่นบู๊ตระบบ (Start Up)

เพื่อป้องกันเครื่องบู๊ตไม่ได้ หรือเปิดไม่ติด เพราะอาจจะเกิดความเสียหายจากระบบ เราจะต้องสร้างแผ่นบู๊ต(Start Up) เอาไว้เพื่อแก้ไข โดยให้เตรียมแผ่นดิสเปล่าใหม่ๆและฟอร์แมตเตรียมเอาไว้ สำหรับ windows 98 และ windows me ให้ไปคลิกที่ปุ่ม Start แล้วเลือก Satting และคลิกที่ Control Panel แล้วคลิกที่ Add/Remove Program แล้วเลือก Startup Disk แล้วใส่แผ่นดิสเข้าไป แล้วคลิก Create Disk รอสักครู่ก็เสร็จ แผ่นบู๊ตนี้เราต้องเก็บเอาไว้ให้ดี พอเวลาเครื่องมีปัญหา เราก็สามารถใช้แผ่นบู๊ตนี้ใส่เข้าไปในช่อง Floppy disk Drive ก่อน แล้วจึงเปิดสวิทซ์ที่เครื่อง แล้วเครื่องก็จะบู๊ตโดยอาศัยแผ่นบู๊ตนี้เข้าไปสู่โปรแกรม DOS เพื่อให้เราใช้โปรแกรมดอสนี้จัดการแก้ไขระบบต่อไป ส่วน windows XP นั้นคลิกขวาที่ Floppy disk แล้วสั่งสร้างแผ่น bootได้เลย(ต้องมีความรู้อยู่บ้างจึงจะทำได้ )

๒๓. DRIVE คืออะไร?

Drive คืออุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งเปรียบเหมือนห้องสำหรับเก็บของ ซึ่งตามธรรมดาคอมฯของเราจะมี ไดร์ฟอยู่ ๓ ไดร์ฟ คือ

๑.ไดร์ฟ A คือที่ Floppy Disk Drive

๒.ไดร์ฟ C คือที่ Hard Disk Drive

๓.ไดร์ฟ E คือที่ CD-ROM Drive

ที่ไดร์ฟ C หรือ Hard Disk Drive นั้นเราสามารถแบ่งความจำออกเป็นไดร์ฟย่อยๆได้อีกมาก(จาก A-Z)โดยก่อนที่จะลงโปรแกรมใดๆลงที่ Hard Disk ก็ให้ทำการแบ่ง Partition(เนื้อที่) เสียก่อนตามต้องการ ก็จะได้ไดร์ฟเพิ่มขึ้นแต่เนื้อที่จะเท่าเดิมหรือลดลงเล็กน้อย ซึ่งการแบ่งนี้ก็เพื่อแยกเอาไดร์ฟ C เอาไว้เก็บเฉพาะโปรแกรมของเครื่อง ส่วนไดร์ฟอื่นก็เอาไว้เก็บข้อมูลที่เราสร้างขึ้นมา พอโปรแกรมเกิดปัญหาก็ทำการ Format (ล้างและจัดที่ทางใหม่)ไดร์ฟ C แล้วลงโปรแกรมใหม่ โดยข้อมูลเก่าไม่เสียหาย แต่ถ้าข้อมูลอยู่ในไดร์ฟ C ก็จะทำให้ข้อมูลที่มีอยู่หายไปหมด

๒๔. Folder และ File คืออะไร?

โฟลเดอร์(บางทีเรียกว่าไดร็อกเทอร์รี่) ก็คืออุปกรณ์สำหรับเก็บเอกสารขนาดย่อยๆ คือเล็กกว่าไดร์ฟ ซึ่งเปรียบเสมือนตู้เก็บเอกสารที่อยู่ในห้องต่างๆ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นเอกสารประเภทใดก็ต้องนำมาเก็บไว้ที่โฟลเดอร์นี้ได้ และเราสามารถสร้างโฟลเดอร์ขึ้นมาในไดร์ฟได้โดยการคลิกขวาที่ว่างๆของไดร์ฟ แล้วเลือก NEW แล้วเลือก FLODER ก็จะได้โฟลเดอร์ใหม่ขึ้นมาและให้เราตั้งชื่อ โดยสามารถตั้งคำได้มากถึง.....ตัวอักษร แต่ระวังอย่าให้ชื่อซ้ำกันกับที่มีอยู่ก่อน และห้ามใช้เครื่องหมายแปลกๆ เช่น / * @ # % $ > < ? เป็นต้น ควรบันทึกเป็นภาษาอังกฤษเพราะเวลาเข้าดอสจะมองภาษาไทยไม่ออก เวลาเปิดโฟลเดอร์ก็ดับเบิ้ลคลิกที่โฟลเดอร์ หรือคลิกขวาที่โฟลเดอร์แล้วเลือก OPEN ถ้าต้องการเปลี่ยนชื่อก็เลือก RENAME ซึ่งเราสามารถสร้างโฟลเดอร์ซ้อนในโฟลเดอร์อีกก็ได้ เพื่อจัดระเบียบของไฟล์ ไฟล์หรือแฟ้มก็หมายถึงแฟ้มเอกสารที่เก็บข้อมูลต่างๆเอาไว้และรวมทั้งเอกสารหรืองานที่เราสร้างขึ้นมาด้วย ซึ่งไฟล์ก็ต้องอยู่ในโฟลฺเดอร์อีกทีหนึ่ง ซึ่งไฟล์ก็ต้องมีชื่อกำกับ โดยหลักการตั้งชื่อก็เหมือนของโฟลเดอร์ จุดสำคัญทุกไฟล์จะต้องมีนามสกุล โดยนามสกุลจะอยู่หลังจุดเช่น .html หรือ .exe หรือ .gif เป็นต้น แต่บางทีเครื่องก็จะใส่นามสกุลให้เราเองโดยไม่ต้องใส่และมองไม่เห็น เช่นเอกสาร word จะมีนามสกุล .doc เป็นต้น ไฟล์ทั้งหลายในเครื่องคอมฯจะสรุปได้ ๒ ประเภทคือ

๑.ไฟล์ระบบ คือเป็นข้อมูลของโปรแกรมต่างๆที่ทำงานอยู่ในเครื่องคอมฯนั่นเอง

๒.ไฟล์ข้อมูล คือเป็นข้อมูลที่เราสร้างขึ้นมาเอง เช่นข้อความ, รูปภาพ,เพลง,ภาพยนตร์ เป็นต้น ไฟล์ระบบนั้นเราอย่าเข้าไปยุ่ง เช่นย้ายที่หรือเปลี่ยนชื่อหรือลบทิ้ง เพราะจะทำให้ระบบการทำงานของโปรแกรมเสียหายแล้วเครื่องจะขัดข้องหรือไม่ทำงาน ทางที่ดีควรซ่อน(HIDDEN) เอาไว้เพื่อป้องกันผู้ที่ไม่รู้ไปลบหรือเปลี่ยนแปลง

๒๕.การซ่อนและแสดงไฟล์หรือโฟล์เดอร์

ถ้าเราต้องการที่จะซ่อนก็ให้คลิกขวาที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ แล้วคลิกที่ Properties แล้วติ๊กให้มีเครื่องหมายถูกที่หน้าคำว่าเลือก HIDDEN หรือ ซ่อน แล้วคลิ๊ก OK ก็จะมองไม่เห็นโฟลเดอร์หรือไฟล์ที่ซ่อนไว้ (หรือจะสั่งไม่ให้ถูกลบได้ก็ให้ติ๊กให้มีเครื่องหมายถูกหน้าคำว่า Read only หรือ อ่านอย่างเดียว) เมื่อเราต้องการมองเห็นไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ซ่อนไว้ก็ต้องไปที่แผงควบคุม CONTROLPANAL แล้วเลือก FOLDEROPTION แล้วเลือก VIEW แล้วติ๊กให้มีจุดที่หน้าคำว่า SHOW ALL FILE และคลิ๊กที่ APPLY กับ OK ก็จะทำให้มองเห็นไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ซ่อนเอาไว้ แต่เวลาไม่ดูแล้วต้องกลับมาติ๊กที่หน้าคำว่า DON’T SHOW HIDENFILE AND SYSTEMFILE และคลิกที่ APPLY กับ OK เพื่อไม่ให้แสดงไฟล์หรือโฟล์เดอร์ที่ซ่อนไว้เหมือนเดิม

๒๖.การค้นหาข้อมูลในเครื่องทำอย่างไร?

บางครั้งเราก็จำไม่ได้ว่าเราเก็บโฟลเดอร์หรือเอกสารชื่อนั้นชื่อนี้ไว้ที่ใด เราก็ใช้โปรแกรม EXPLORER ค้นหา โดยการพิมพ์ชื่อลงไปในช่องให้ใส่ชื่อ แล้วคลิก FIND ก็จะปรากฏโฟลเดอร์หรือไฟล์ที่เราต้องการ โดยจะบอกสถานที่เก็บเอาไว้ด้วย หรือถ้าจำชื่อไม่ได้แต่จำวันที่สร้างหรือวันที่แก้ไขได้ก็ให้เลือกวันเวลาแล้วคลิ๊ก FIND ก็จะแสดงไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่สร้างหรือแก้ไขในวันเวลานั้นขึ้นมาจนหมด หรือจำได้แต่ขนาดไฟล์ก็ใช้การหาขนาดแทนก็ได้ หรือถ้าเราจะให้เครื่องค้นหาไฟล์ที่มีนามสกุลอะไรก็ให้ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์ ( * ) แล้วตามด้วยจุด ( . ) และอักษรที่เป็นนามสกุลที่เราต้องการค้นหาเช่น *.tmp แล้วก็สั่ง Find แล้วมันก็จะแสดงไฟล์ที่มีนามสกุลTMP ทั้งหมดออกมา ถ้าเราคลิ๊กขวาที่ไฟล์ใด หรือโฟลเดอร์ใด หรือที่ไอคอนใด แล้วคลิกที่ properties (คุณสมบัติ) มันก็จะแสดงคุณสมบัติของไฟล์หรือโฟลเดอร์หรือไอคอนนั้นขึ้นมา เช่นบอกนามสกุล ที่ตั้ง ประเภท ซึ่งแม้ที่ desk top (หน้าจอ)ก็สามารถใช้เก็บโฟลเดอร์หรือไฟล์ต่างๆได้เหมือนกับว่าเป็นไดร์ฟๆหนึ่งเหมือนกัน ส่วนไอคอน DOCUMENT นั้นมีไว้สำหรับให้เก็บเอกสารต่างๆ ซึ่งเราจะไม่ใช้ก็ได้ถ้าเรามีไดร์ฟอื่นไว้เก็บเอกสารแทนแล้ว

๒๗.การสร้าง Short Cut (เส้นทางลัด)

Short Cut หมายถึง เส้นทางลัด คือถึงแม้ตัวโฟล์เดอร์หรือไฟล์งานจะอยู่ในที่ใดก็ตาม ถ้าเราต้องการที่จะเรียกใช้โฟล์เดอร์หรือไฟล์นั้นเร็วๆโดยไม่ต้องไปเปิดหาที่ My Computer ก็ให้เราสร้าง Short Cut สำหรับไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นขึ้นมา แล้วนำเอาไปวางไว้ที่ Desk top หรือที่ที่เราต้องการ การสร้าง Short Cut ก็คือให้คลิกขวาที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์แล้วเลือกคลิก Cread to short cut แล้วก็จะปรากฏ Short cut ของไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นขึ้นมา ซึ่งจะมีลักษณะเป็นไปคอนและมีรูปลูกศรเล็กๆอยู่ที่มุมวาล่าง ก็ให้เราตัดเอาไปวางไว้ที่ที่เราต้องการได้ทันที พอเวลาจะใช้ก็ให้คลิกที่ Short cut นี้ได้ทันที

๒๘. My computer

ที่ไอคอน My computer ที่ desk top นั้น จะเปรียบเสมือนเครื่องคอมฯของเราที่มีอยู่ ถ้าเราต้องการดูงานอะไรที่เรารู้ที่อยู่ของมันแล้วเราก็สามารถเปิดผ่านทาง My computer นี้ไปหาไดร์ฟ ไปหาโฟลเดอร์ และไปหางานของเราได้ทันที แต่ถ้าอยากรู้คุณสมบัติของคอมฯเรา ก็ให้คลิกขวาที่ My computer แล้วคลิ๊กที่ properties มันก็จะแสดงว่าคอมฯเครื่องนี้ใช้ระบบปฏิบัติการอะไร? รุ่นไหน? และมีเลขลำดับอะไร? ใช้ CPU ยี่ห้ออะไร? ความเร็วเท่าไร? มีRAM เท่าไร? เป็นต้น ถ้าเปิด My computer ขึ้นมาก็จะเห็นได้ว่ามีไดร์ฟกี่ไดร์ฟ (ถ้าเปิดไดร์ฟขึ้นมาก็จะพบว่ามันมีโฟลเดอร์บรรจุอยู่เท่าไร) ถ้าคลิ๊กขวาที่ไดร์ฟใดแล้วเลือก property ก็จะแสดงคุณสมบัติของไดร์ฟนั้นๆได้ เช่น เนื้อที่ทั้งหมด, เนื้อที่ใช้งานแล้ว, เนื้อที่ว่าง เป็นต้น รวมทั้งยังมีเครื่องมือดูแลระบบ (Tool) เช่น scan disk และ defragmenter ให้ใช้ด้วย

๒๙.การใช้แผงควบคุม Control Panel

ถ้าเราจะทำการตั้งค่าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ หรือติดตั้งถอดถอนโปรแกรม ก็ให้คลิกที่ Start แล้วเลือก การตั้งค่า (setting) แล้วคลิกที่แผงควบคุม (control Panel) ก็จะเข้าสู่หน้าต่างแสดงอุปกรณ์ต่างๆที่เครื่องมีอยู่ทั้งหมด และถ้าเราต้องการจะตั้งค่าอุปกรณ์อะไร ก็ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนของอุปกรณ์นั้น แล้วก็จะเข้าสู่หน้าต่างของการตั้งค่าอุปกรณ์นั้นๆ เช่นการตั้งค่า เมาส์ หรือ คีย์บอด หรือตั้งเวลา เป็นต้น หรือจะติดตั้งโปรแกรม หรือถอดถอนโปรแกรมก็เข้ามาที่ Control Panel นี้

๓๐. การใช้ Copy, Cut, และ Plate

เมื่อต้องการคัดลอกโฟลเดอร์หรือไฟล์ใดก็ให้คลิกขวาที่โฟลเดอร์หรือไฟล์นั้นแล้วเลือก Copy เวลาจะเอาไปไว้ที่ไหนก็ให้เปิดโฟลเดอร์นั้นขึ้นมาแล้วคลิ๊กขวาที่ว่างๆของโฟลเดอร์นั้นแล้วเลือก Plate มันก็จะคัดลอกโฟลเดอร์หรือไฟล์นั้นมาไว้อีกที่ใหม่นี้ และสามารถเอาไปวาง (Plate) ที่อื่นๆได้อีกเรื่อยๆ จนกว่าจะมีการ Copy หรือ Cut ขึ้นมาใหม่ ของเก่ามันจึงจะหายไป ส่วนการตัด(Cut) จะเป็นการตัดเอาโฟลเดอร์หรือไฟล์นั้นไปแล้ววางวางเหมือน Copy แต่จะต่างกันตรงที่ถ้าCut แล้วโฟลเดอร์หรือไฟล์ต้นฉบับจะหายไปด้วย เหมือนตัดกระดาษเอาไปแปะที่อื่น ซึ่งการคลิกซ้ายที่งานค้างไว้แล้วลากไปปล่อยที่อื่นก็เหมือนกับการใช้คำสั่ง Cut แล้วก็ Plateนั่นเอง ส่วนการคัดลอกข้อมูลจากแผ่นดิสเก่าทั้งหมดเอาไปใส่ไว้ในแผ่นดิสแผ่นใหม่ก็ทำได้โดยการคลิกขวาที่ไดร์ฟ A (floppy disk) แล้วเลือก Copy disk แล้วใส่แผ่นต้นฉบับลงไป คลิก OK ต่อจากนั้นก็รอจนมีข้อความให้ใส่แผ่นเปล่าลงไป เมื่อใส่เสร็จก็คลิก OK เครื่องก็จะทำการคัดลอกข้อมูลใส่ในแผ่นดิสใหม่ทันที เมื่อเสร็จก็จะรายงายให้ทราบ

๓๑. การ format disk

การฟอร์แมตดิสคือการจัดระเบียบใหม่ โดยการลบล้างข้อมูลทั้งหมดในดิส ออก แล้วจัดเนื้อที่ของดิสให้เป็นระเบียบเพื่อเตรียมไว้สำหรับการบันทึกข้อมูลที่จะบันทึกต่อไป ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในแผ่น Floppy disk และใน Hard disk

การฟอร์แมตแผ่นดิสทำได้โดยเปิด My computer ขึ้นมา แล้วคลิกขวาที่ไดร์ฟ A (Floppy disk) แล้วคลิกที่ Format disk ต่อจากนั้นก็เลือกว่าจะฟอร์แมตแบบเร็ว (หยาบ) หรือช้า(ละเอียด) แล้วคลิก start เมื่อเสร็จจะมีกล่องข้อความรายงานการฟอร์แมตสมบูรณ์แล้ว ส่วนการฟอร์แมต Hard disk ก็ทำเหมือนกัน เป็นแต่เพียงว่าจะต้องเลือกว่าจะฟอร์แมต Hard disk ทั้งลูก หรือเฉพาะไดร์ฟใดไดร์ฟหนึ่งเท่านั้น ข้อระวัง ถ้าไม่รู้จริงอย่าทำ และห้ามฟอร์แมตไดร์ฟ C เพราะจะทำให้โปรแกรมที่อยู่ในไดร์ฟ C ทั้งหมดถูกลบทิ้ง ซึ่งจะส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน

๓๒. การบันทึกงาน

เมื่อเราสร้างเอกสารเช่น Word ขึ้นมาใหม่แล้วเราต้องการที่จะบรรทุกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ของเรา ก็ให้คลิ๊กที่เมนูข้างบนตรงคำว่า File (แฟ้ม) แล้วเลือก Save (บันทึก) เครื่องก็จะเปิดหน้าต่างสำหรับใช้บันทึกขึ้นมา และมีช่องให้เราตั้งชื่อ เราก็ตั้งชื่อตามหลักเกณฑ์เหมือนการตั้งชื่อโฟลเดอร์ และไฟล์นั่นเอง ต่อจากนั้นเราก็ดูที่ช่อง Look in ว่ามันแสดงอะไรอยู่ ซึ่งตามปกติมันจะอยู่ที่ My Document ถ้าสั่งบันทึกก็จะทำให้ไฟล์งานของเราไปเก็บไว้ที่ Document ทันที แต่ถ้าเราต้องการให้มันไปอยู่ที่ที่เราต้องการ เราก็ต้องเปลี่ยนข้อความในช่อง Look in ให้ไปเป็น My computer และเลือกไดร์ฟที่เราจะใช้เก็บ แล้วก็เลือกโฟลเดอร์ที่จะใช้เก็บ แล้วก็เปิดโฟลเดอร์นั้นขึ้นมา แล้วก็สั่ง Save แล้วงานนั้นก็จะไปอยู่ที่โฟลเดอร์ที่เราเลือกไว้ ตามปกติไฟล์งานที่บันทึกแล้วนี้เครื่องจะใส่นามสกุลให้เองโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเราต้องการจะเปลี่ยนนามสกุลก็ให้เลือกที่ช่อง” จัดเก็บเป็นชนิด” ที่อยู่ใต้ช่องชื่อ หรือบางทีเราก็ต้องใส่นามสกุลเอง เช่น การบันทึกเอกสาร Notepadให้เป็นเวบเพจ สำหรับสร้างเวบไซต์ เราก็ต้องใส่นามสกุล .HTM หรือ .HTML ด้วยเราเอง ถ้าไม่ใส่มันก็จะเป็นเอกสารข้อความตามธรรมดา จะใช้เป็นเวบเพจไม่ได้ แต่ถ้าเราใส่นามสกุลถูก มันก็จะกลายเป็นไฟล์ที่สามารถดูได้ด้วยโปรแกรม Internet Explore ที่เราใช้ดูเวบเพจนั่นเอง

ส่วนการใช้ Save as (บันทึกเป็น) นั้นก็คือการบันทึกเป็นเอกสารชนิดใหม่ เช่นถ้าเราเอางาน Word เก่าออกมาแล้วแก้ไขใหม่ และจะบันทึกเป็นเอกสารชนิดใหม่ เราก็สั่งที่ Save as นี้ ซึ่งก็จะมีหน้าต่างให้บันทึกใหม่ขึ้นมาเหมือนกับเริ่มการ Save ตามธรรมดา เมื่อบันทึกแล้วจะเป็นเอกสารใหม่ไม่ทับของเก่า

๓๓. การบีบอัดงาน

บางทีเมื่อเราจะเก็บข้อมูลบางอย่างไว้ในแผ่นดิสเพียงแผ่นเดียว แต่ว่าเนื้อที่มันมากกว่า ๑.๔๔ Mb เล็กน้อย เราก็สามารถใช้โประแกรมบีบอัดข้อมูล (Zip)ให้ลดขนาดลงได้ โดยการคลิกขวาที่งานที่จะบีบอัด แล้วเลือก Zip มันก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้ทำการบีบอัด และจะมีข้อความบอกว่าบีบอัดได้กี่เปอร์เซ็นต์ และถ้าต้องการจะแตก Zip ออก ก็ต้องคลิกขวาที่งานแล้วสั่ง Open Zip ซึ่งเราสามารถบีบอัดข้อมูลอะไรก็ได้ด้วยวิธีการนี้

๓๔. การลบงานทิ้ง

เมื่อเราต้องการลบไฟล์(หรือโฟลเดอร์)ใดก็ให้ไปที่ My computer แล้วเปิดขึ้นมา /เลือกไดร์ฟ /เปิดไดร์ฟ/ เลือกโฟลเดอร์ /เปิดโฟลเดอร์/ แล้วคลิ๊กที่ไฟล์นั้นแล้วกดแป้น Delete ที่ Keyboard หรือจะคลิกขวาที่ไฟล์ที่ต้องการ แล้วเลือก Delete แล้วจะมีกล่องคำถามขึ้นมาว่าแน่ในว่าจะนำเอกสารนี้ไปไว้ยังถึงรีไซเคิลหรือ? ถ้าไม่แน่ใจก็เลือก NO ถ้าแน่ใจก็เลือก OK แล้วไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นก็จะหายไปจากที่ตั้งทันที และจะมาอยู่ที่ถังขยะ(RECYCLEBIN)ที่ Desk Top เมื่อเปิดดูก็จะเห็นงานที่ลบทิ้งมา ถ้าต้องการให้งานนั้นกลับไปที่ตั้งเดิมของมัน ก็ให้คลิกขวาที่งานนั้น แล้วคลิ๊ก Restore มันก็จะกลับไปอยู่ที่ตั้งเดิมได้ หรือจะเลือกตัด(CUT)เอาไปแปะไว้ที่อื่นก็ได้ หรือจะดูว่ามันถูกลบมาเมื่อไรก็ได้ให้คลิกที่ Properties แต่ถ้าต้องการลบทิ้งจริงๆก็ให้เลือก Delete แล้วคลิ๊ก OK มันก็จะหายไปเลยกู้คืนไม่ได้แล้ว หรือจะลบขยะทั้งหมดก็ให้เลือก Empty Recycle Bin ที่บริเวณด้านซ้ายของจอก็ได้ หรือจะเลือกให้มันกลับที่ตั้งทั้งหมดก็ได้เหมือนกันโดยให้เลือก Restore All

๓๕. ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร?

ไวรัสคอมพิวเตอร์ก็คือโปรแกรม(คำสั่ง)อย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา แต่มันมีหน้าที่ในการทำให้ระบบของคอมพิวเตอร์เสียหาย เช่น ทำให้เครื่องช้า, ลบข้อมูลทั้งหมดของเรา, เปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เรามีอยู่,หรือเพิ่มข้อมูลให้เครื่องจนเต็มเร็ว, หรือสั่งให้เครื่องปิดตัวเอง, หรือทำให้เครื่องแฮ๊งค์บ่อยๆ เป็นต้น หรือไวรัสบางตัวมันจะเข้ามาในเครื่องเราแล้วแอบส่งข้อมูลหรือเอกสารสำคัญๆของเราไปให้คนอื่นได้

ไวรัสคอมพิวเตอร์นี้มันอาจจะมากับแผ่น floppy Disk ที่เราเอาข้อมูลของเครื่องที่มีไวรัสอยู่แล้วมาบันทึกลงที่เครื่องของเรา หรืออาจจะมากับ E-Mail ทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ หรือการโหลด(ดึง)รูปภาพหรือโหลดโปรแกรมจากอินเตอร์เน็ตก็สามารถติดไวรัสได้ แต่ที่ร้ายกว่านั้นบางครั้งเพียงเราเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยยังไม่ได้ทำอะไร มันก็จะมีไวรัสเข้ามาเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้เองเหมือนกัน เมื่อไวรัสเข้าเครื่องเราได้แล้ว มันก็จะคัดลอกตัวของมันแล้วไปแทรกอยู่ตามโปรแกรมหรือตามงานต่างๆของเรา เมื่อเราบันทึกงานอะไรลงไปในแผ่น Floppy Disk เจ้าไวรัสนี้ก็จะแฝงตัวลงไปด้วยทันที หรือเมื่อเราเชื่อต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ เจ้าไวรัสนี้มันก็จะส่งตัวของมันแองออกไปเข้าเครื่องของคนอื่นอีกได้เหมือนกัน

ไวรัสนี้จะถูกคนที่มีความรู้ในการเขียนโปรแกรมของคอมพิวเตอร์สร้างขึ้นมา อาจจะเพื่อแกล้งคนอื่น หรืออาจจะทำเล่นๆ หรืออาจจะทำเพื่อผลประโยชน์บางอย่างก็ได้ ซึ่งปัจจุบันไวรัสคอมพิวเตอร์ตัวใหม่ๆจะเกิดขึ้นมาเฉลี่ยทุกๆ ๑๘ วินาทีต่อ ๑ ตัว จนสร้างความเสียหายให้แก่ธุรกิจต่างๆที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วโลกหลายพันหลายหมื่นล้านบาทแล้ว

๓๖. โปรแกรม Anti Virus

เมื่อมีคนผูกก็ต้องมีคนแก้ เมื่อมีคนสร้างไวรัสคอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็จะต้องมีคนสร้างโปรแกรมสำหรับป้องกันไวรัสนั้นด้วย ซึ่งโปรแกรมป้องกันไวรัสนี้มีหลายยี่ห้อ เช่น McaFee , Norton , Panda , PC cillin, avast เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมป้องกันไวรัสนี้ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเสียแล้ว เพราะถ้าไม่มีก็จะเสี่ยงกับการติดไวรัสคอมพิวเตอร์มาก แต่การติดตั้งก็ต้องหมั่น(Update) หรือหมั่นไปโหลดเอาข้อมูลของไวรัสตัวใหม่ๆทางอินเตอร์เน็ตจากบริษัทที่เราใช้โปรแกรมของเขาอยู่ เพื่อให้โปรแกรมป้องกันไวรัสของเราสามารถค้นพบไวรัสตัวใหม่ๆได้ เพราะถ้าโปรแกรมมันไม่รู้จักไวรัสตัวใหม่ๆ มันก็จะปล่อยให้ไวรัสนั้นเข้าอยู่ในเครื่องของเราอย่างสบาย โปรแกรมป้องกันไวรัส เช่นของ McaFee อย่างราคาถูกก็แผ่นละประมาณ ๖๐๐ บาท และ Update ข้อมูลไวรัสได้เพียงปีเดียว ถ้าเกินก็จะ Update ข้อมูลไวรัสไม่ได้ ถ้าจะทำต่อก็ต้องเสียเงินอีกเป็นรายปี ซึ่งยี่ห้ออื่นก็ราคาใกล้เคียงกัน (มีแผ่นก๊อปปี้ราคาถูกขายเกลื่อน แต่ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ผิดกฎหมาย) ส่วนของฟรีก็มีเช่น avast! ซึ่งสามารถหาดาวโหลดได้ที่นี่[avast.com]และสามารถส่งอีเมล์ไปขอลงทะเบียนใช้ฟรีได้ ๑ ปี ถ้าหมดอายุแล้วก็ขอใหม่ได้ แต่แม้จะมีโปรแกรมป้องกันไวรัสดีที่สุดอยู่ก็ตาม ก็ใช่ว่าเครื่องของเราจะปลอดภัยจากไวรัส ๑๐๐ %

การทำงานของโปรแกรมป้องกันไวรัสนี้มีอยู่ ๒ ลักษณะ คือ

๑. คอยดักจับไวรัสอยู่ตลอดเวลาที่เปิดเครื่อง ถ้ามีไวรัสตัวใดที่รู้จักโผล่ออกมา โปรแกรมป้องกันไวรัส มันก็จะหยุดระบบของเราเอาไว้ทันที แล้วแสดงกล่องข้อความบอกให้เรารู้ ต่อจากนั้นเราก็ต้องสั่ง Clean คือลบเฉพาะไวรัส ไม่ลบไฟล์ที่ติดไวรัส แต่ถ้าสั่ง Delete ก็จะทำให้ไฟล์ที่ติดไวรัสจะถูกลบไปด้วย หรือถ้าลบไม่ได้ก็สั่ง Quarantined หรือกักเก็บไว้ไม่ให้แสดงอาการออกมา

๒. แสกน(ตรวจ)ไวรัสด้วยตนเอง คือเราสั่งให้โปรแกรมทำการตรวจหาไวรัสด้วยตนเองในไดร์ฟหรือในโฟลเดอร์ใดก็ได้ตามต้องการ หรือจะให้หาในเครื่องทั้งหมดก็ได้ ถ้ามันพบไวรัสก็จะมีกล่องข้อความขึ้นมาให้เราจัดการต่อไป

๓๗. การดูแลระบบ

คอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการดูแลอย่างถูกต้อง(รวมทั้งการสแกนไวรัสด้วย)จึงจะทำงานได้ตามปกติ และมีอายุยืนยาว แต่ถ้าไม่ดูแลให้ดี เครื่องก็อาจจะทำงานอืด, หรือค้าง(แฮ๊ง)บ่อยๆ, หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่โปรแกรมของเครื่องได้

ซึ่งการดูแลระบบตามปรกตินั้นก็มีอยู่ ๔ อย่างใหญ่ๆด้วยกัน คือ

๑. การกำจัดไฟล์ขยะใน Hard disk คือใน Hard disk นั้นจะมีไฟล์ที่ไม่จำเป็นหลายอย่างอยู่มากมาย ทั้งอย่างที่เกิดขึ้นเองและอย่างที่เราสร้างขึ้นมา ซึ่งถ้ามีมากๆก็จะทำให้ข้อมูลของเรามากขึ้น แล้วก็จะทำให้เครื่องทำงานช้าลงกว่าเดิม ซึ่งวิธีแก้ไขก็คือให้ไปที่ไดร์ฟของเครื่องที่มีอยู่ แล้วคลิ๊กขวาที่ไดร์ฟนั้น แล้วเลือก Properties แล้วเลือก Disk Cleanup มันก็จะมีกล่องแสดงข้อความของไฟล์ที่ไม่จำเป็นต่างๆขึ้นมาให้เลือกลบตามต้องการ

๒. การกำจัดไฟล์ TMP ซึ่งเป็นไฟล์ชั่วคราวที่เครื่องสร้างขึ้นเองจากการทำงานของโปรแกรมบางโปรแกรม ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งวิธีค้นหาก็ต้องใช้โปรแกรมค้นหา Explorer ค้นหา โดยใส่ชื่อ *.tmp ลงในช่องชื่อที่ต้องการต้นหา แล้วสั่งให้เครื่องค้นหา ถ้ามีมันก็จะแสดงออกมา ซึ่งอาจจะมีมากก็ได้ถ้าไม่ได้ลบทิ้งเป็นเวลานานๆ เมื่อพบก็ให้ลบทิ้งได้ทันทีไม่ทำให้โปรแกรมหรือข้อมูลของเราเสียหาย

๓. การ Scan Disk คือเป็นการตรวจหาความเสียหายของ Hard disk โดยการคลิ๊กขวาที่ไดร์ฟที่ต้องการ แล้วคลิ๊กที่ Properties แล้วคลิ๊กที่ Tool แล้วคลิ๊กที่ Scan disk now มันก็จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เลือกว่าจะสแกนแบบใด

การสแกนก็มี ๒ แบบ คือ

๑. แบบสแกนอย่างคร่าวๆ ซึ่งจะเป็นการตรวจหาว่าโฟลเดอร์หรือไฟล์ใดบ้างมีความเสียเกิดขึ้น ถ้าจะสแกนอย่างคร่าวๆก็ให้ติ๊กมีจุดหน้าคำว่า Standard และสั่งสแกน ซึ่งการสแกนเช่นนี้จะไม่ใช้เวลาไม่มาก และเมื่อสแกนเสร็จก็จะมีกล่องข้อความขึ้นมารายงานว่ามีจุดเสียเท่าไร, และใช้งานเท่าไร, ว่างเท่าไร, เป็นต้น ถ้าจุดเสียเป็นศูนย์ (0 Bite Bad) ก็เป็นอันว่าไม่มีจุดใดเสีย ใช้ได้ ถ้ามีมันก็จะรายงานว่ามีเท่าไร ( เช่น ๒๕,๓๘๒ Bite Bad เป็นต้น) ซึ่งการสแกนแบบนี้ควรทำทุกครั่งก่อนการทำ Defragmenter

๒. แบบแสกนอย่างละเอียด ซึ่งจะเป็นการตรวจหาความเสียหายบนผิวหน้าของแผ่น Hard disk ที่ใช้เขียนข้อมูลลงไปที่อาจเกิดจากการที่ไฟฟ้าดับบ่อยๆ หรือเราไมได้ปิดเครื่องให้ถูกต้องบ่อยๆ ถ้าจะสแกนแบบนี้ก็ให้ติ๊กให้มีจุดหน้าคำว่า Thought แล้วก็สั่งสแกน หรือ ถ้าจะให้มันซ่อมแซมด้วยก็ให้ติ๊กมีเครื่องหมายถูกหน้า Auto Fix Error ด้วย ซึ่งการสแกนแบบนี้จะใช้เวลานานมาก (เป็นเวลาหลายชั่วโมง) เพราะมันจะต้องคัดลอกข้อมูลทั้งหมดเอาไปไว้ที่อื่นแล้วนำกลับมาเขียนลงใหม่ใน Hard disk ที่เดิม เมื่อเสร็จก็จะมีกล่องข้อความขึ้นมาบอกว่ามีความเสียหายเท่าไรเหมือนข้อแรก ถ้ามี Bite Bad มากๆก็อาจจะต้องเอา Hard disk นี้ไปซ่อม หรือเปลี่ยนใหม่ ซึ่งการสแกนแบบนี้ควรทำสักสองเดือนหรือสามเดือนต่อครั้ง ถ้าใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่มาก

๔. Defragmenter คือเป็นการจัดเรียงข้อมูลใน Hard disk (หรือในแผ่น Floppy disk ก็ได้)ให้เป็นระเบียบ คือเมื่อเราบันทึกงานอะไรลงไป และมีการแก้ไขบันทึกบ่อยๆ หรือลบแฟ้มบ่อยๆ มันก็จะทำให้ข้อมูลของงานนั้นแยกกันอยู่ไม่ติดต่อกัน อาจจะไปอยู่กันคนละทิศละทางก็ได้ ซึ่งเวลาจะใช้ข้อมูลนั้น เครื่องมันก็ต้องวิ่งไปวิ่งมาหาข้อมูลทั้งหมดมารวมกันเพื่อมาแสดงให้เรา ซึ่งถ้างานที่แตกแยกเช่นนี้มีมากๆก็จะทำให้เครื่องเสียเวลามากขึ้นในการค้นหาข้อมูลมาแสดง แต่ถ้ามันถูกเรียงติดต่อกันเป็นระเบียบไม่ขาดตอน ก็จะทำให้เครื่องเสียเวลาในการค้นหาน้อยลงได้

การสั่ง Defragmenter ควรทำต่อจากการ Scan disk แบบ Standard เสร็จแล้ว (แต่ถ้าเครื่องมีปัญหาไม่ยอม Defragmenter เราจะต้องทำการ Scan Disk แบบThrough ให้เสร็จแล้วทดลอง Defragmenter อีกที ถ้ายังทำไม่ได้แสดงว่าเครื่องมีปัญหา) คือให้เลือกไดร์ฟที่จะทำ Defragmenter แล้วคลิ๊กขวาเลือกที่ properties แล้วคลิกที่ Tool แล้วคลิกที่ Defragmenter Now แล้วเครื่องก็จะทำการเรียงข้อมูลทันที ถ้าต้องการดูรายละเอียด ก็คลิ๊กดูได้ที่ปุ่ม Detail ได้ ซึ่งอาจจะใช้เวลานานเป็นชั่วโมงๆถ้ามีข้อมูลในเครื่องมาก และเราต้องรอจนครบ ๑๐๐ % จึงจะเสร็จสมบูรณ์ ถ้าเลิกก่อนก็จะไม่สมบูรณ์ และเมื่อเสร็จก็จะมีข้อความถามว่า “จะทำการ Defragmenter เพียง Driveนี้เท่านั้นใช่หรือไม่?” ถ้าใช่ก็เลือก YES ถ้าจะทำการ Defragmenter ไดร์ฟอื่นต่อก็เลือก NO จุดสำคัญขณะที่กำลัง Defragmenter อยู่นี้ควรตั้ง Skeen Saver ให้เป็น NEVER หรือ NON เพื่อไม่ให้หน้าจอมืด อันจะทำให้การ Defragmenter หยุดทำงานได้ ซึ่งการ Defragmenter นี้ถ้าข้อมูลมีมากก็ควรทำเป็นประจำ อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง

*****************